อาชีพครู
อาชีพครู คือ อาชีพที่ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อาชีพครู สามารถจำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการสอนและลักษณะของสังกัดอีกด้วย
เช่น
ครูในสังกัดโรงเรียนสามัญ จะประกอบไปด้วยครู 8 กลุ่มสาระ และครูกิจกรรม
ยกตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ ครูผู้สอนภาษาไทย
ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนศิลปะ
ครูผู้สอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์
ครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ครูผู้สอนพลศึกษาและสุขศึกษา
ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว และอื่น ๆ ตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ครูในสังกัดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาสายอาชีพ/อาชีวะ จะประกอบไปด้วยครูผู้มีความชำนาญด้านสายอาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น
ครูผู้สอนช่างยนต์ ครูผู้สอนเขียนแบบ
ครูผู้สอนช่างอิเล็กทรอนิกส์ ครูผู้สอนช่างไฟฟ้า
ครูผู้สอนช่างก่อสร้าง ครูผู้สอนช่างกล
ครูผู้สอนช่างเชื่อม และครูผู้สอนอื่น ๆ ตามลักษณะสายอาชีพที่ต้องการฝึกฝนผู้เรียนให้เกิดความพร้อมในการประกอบอาชีพ ตามสาขาวิชาที่เปิดสอน
ครูนอกสังกัด นับว่าเป็นครูเช่นกัน เช่น ครูในสถาบันกวดวิชา
ครูสอนดนตรี ครูสอนเต้น ก็ถือได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นครู แต่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ อาจไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู
แต่บุคคลเหล่านั้นถือว่าได้มีการสั่งสอน จึงจัดว่าเป็นครู(ตามทัศนคติของผมเอง)
หรือมากไปกว่านั้นยังมีครูพื้นบ้าน และผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เขาก็คือครูโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตาม
และอาจมีประเภทสายการสอนของครูในยุคอนาคตเกิดขึ้นใหม่ตามวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงอีกมากมาย เพราะเกิดวิทยาการใหม่ ๆ ย่อมต้องมีการถ่ายทอดความรู้ จึงต้องพึ่งพาผู้มีความรู้มาถ่ายทอด
ครูก็คือผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่น เพื่อให้เกิดความรู้และสติปัญญาในเรื่องนั้น ๆ
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพครู
1. ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์)
2. มีใบประกอบวิชาชีพครู
3. มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง ตามวิชาที่ตนถนัด
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5. รักเด็ก มีจิตใจโอบอ้อมอารี
6. ศรัทธาต่อวิชาชีพครู
7. รักการแสวงหาความรู้
8. ชอบการสอน
9. อื่นๆ
นอกเหนือจากนี้คือคุณสมบัติของครูที่มีความสามารถเฉพาะด้านโดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้
1) มีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
2) เป็นผู้มากประสบการณ์ และต้องการถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้และทราบ
3) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ
4) อื่น ๆ
ขอบข่ายงานของอาชีพครู
1. การจัดการสอน/การจัดการเรียนรู้
2. เป็นที่ปรึกษาให้ผู้เรียน
3. ดูแลผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน
4. แสวงหาวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ
5. หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานและสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาอาชีพครู
1. ครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
1.2 ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
1.3 ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
2. ครูเอกชน
3. ครูอัตราจ้าง
4. ครูพี่เลี้ยงเด็ก
5. ผู้อำนวยการโรงเรียน
6. เจ้าของกิจการสถานศึกษาเอกชน
7. เจ้าของกิจการโรงเรียนกวดวิชา
8. เปิดสอนพิเศษ
9. ผู้ทรงคุณวุฒิ
10. นักวิชาการ
11. นักการศึกษา
12. อื่น ๆ
แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1. ห้องสมุด
2. ห้องแนะแนวตามโรงเรียนต่าง ๆ
3. ครูแนะแนว
4. เว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เปิดสอนหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์/คณะครุศาสตร์
5. อื่นๆ
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
สำหรับผู้สนใจประกอบวิชาชีพครู ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
เนื่องจากวิชาชีพครู มีหลากหลายตามสาขาเฉพาะทาง และสามารถต่อยอดในระดับสูงขึ้นไปได้
การเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษา ควรศึกษาให้ดี และรู้จักตนเองให้ดีพอ
จึงจะทำให้อาชีพที่เลือกประสบความสำเร็จ และเจริญก้าวหน้า
พร้อมกับมีความสุขในการทำงานที่ตนรัก
รักอาชีพ เท่ากับรักตนเอง